ริโก้ได้เผยแพร่รายงานเชิงบูรณาการของริโก้ กรุ๊ป ประจำปี พ.ศ. 2566
วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ณ กรุงโตเกียว – ริโก้ได้เผยแพร่รายงานเชิงบูรณาการของริโก้ กรุ๊ป ประจำปี พ.ศ. 2566 เวอร์ชันภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานของการเปิดเผยข้อมูลเชิงรุกของริโก้สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องภายนอก เช่น ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน
เนื่องจากปัจจุบันความสนใจในการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) มีเพิ่มมากขึ้น และความคาดหวังในการเปิดเผยข้อมูลก็มีมากขึ้นเช่นกัน รายงานฉบับนี้จึงนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานระยะกลางไปจนถึงระยะยาว และภาพรวมของความคิดริเริ่มต่างๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณค่าของบริษัท รวมถึงความคิดเกี่ยวกับ ESG และข้อมูลด้านผลการดำเนินงาน รายงานฉบับนี้เป็นสิ่งพิมพ์ล่าสุดของบริษัท ริโก้ในปีนี้ นอกเหนือจากการรายงาน TCFD ของริโก้ กรุ๊ป ประจำปี พ.ศ. 2566 และรายงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของริโก้ กรุ๊ป ประจำปี พ.ศ. 2566 ซึ่งมีการเผยแพร่เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม และหนังสือรวบรวมข้อมูลด้าน ESG ของริโก้ กรุ๊ป ประจำปี พ.ศ. 2566 เมื่อวันที่ 6 กันยายน
ริโก้พยายามอย่างหนักที่จะพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ ผลักดันกิจการให้เติบโต และยกระดับคุณค่าของบริษัท โดยสนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลเชิงรุกที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
รายงานเชิงบูรณาการของริโก้ กรุ๊ป ประจำปี พ.ศ. 2566
ในเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2566 คุณอากิระ โอยามะ ได้เข้ารับตำแหน่งประธานและ CEO ของบริษัทริโก้ จึงมีการทบทวนปรัชญาองค์กรของริโก้ หรือแนวทางการดำเนินธุรกิจ (Ricoh Way) โดยใช้การเติมเต็มความสำเร็จผ่านการทำงานมาเป็นภารกิจและวิสัยทัศน์ขององค์กร รายงานฉบับนี้มีการแนะนำให้รู้จักกลยุทธ์การบริหารระยะกลาง ฉบับที่ 21 (MTS) ซึ่งเป็น “แผนการบังคับใช้” สำหรับช่วงระยะเวลาสามปี ในเรื่องการเปลี่ยนผ่านสู่บริษัทผู้ให้บริการด้านดิจิทัล โดยมีประเด็นการพัฒนาและการยกระดับหลักๆ ดังต่อไปนี้
- ผู้นำด้านการบริหารภายใต้โครงสร้างแบบใหม่
ในหัวข้อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กล่าวถึงกลยุทธ์ ความคิดริเริ่ม และความคิดส่วนตัวของประธานบริษัทและ CEO ของริโก้ เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านสู่บริษัทผู้ให้บริการด้านดิจิทัล และหัวข้อการสนทนาระหว่างกรรมการและประธานบริษัท รวมถึงประธานอิสระ ได้กล่าวถึงความสำเร็จของ CEO ริโก้ และกระบวนการพัฒนาแผน MTS ฉบับที่ 21 - กระบวนการสร้างคุณค่าของริโก้ ในฐานะที่เป็นบริษัทผู้ให้บริการด้านดิจิทัล
รายงานฉบับนี้นำเสนอภาพรวมของกระบวนการสร้างคุณค่าของริโก้ และอธิบายรายละเอียดถึงทุนในการบริหารจัดการหลัก จุดแข็งของริโก้อันเป็นแรงขับเคลื่อนการปฏิรูปการทำงาน โมเดลธุรกิจ รวมถึงการจัดตั้งและประเมินราคาธุรกิจที่สร้างรายได้ไม่รู้จบจากบริการด้านดิจิทัล นอกจากนี้ยังแสดงถึงกลยุทธ์จากสำนักงานใหญ่ของริโก้ที่มีส่วนช่วยในการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นบริษัทผู้ให้บริการด้านดิจิทัล เช่น หัวข้อ Human Capital Strategy ที่แนะนำให้รู้จักโมเดลการสร้างคุณค่า และความคิดริเริ่มที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากลยุทธ์ด้านเงินทุน การเงิน และทุนทรัพยากรมนุษย์ ในแง่ที่ว่าเราจะควบคุมธุรกิจผ่านการบริหารผลตอบแทนต่อการลงทุนของนักลงทุน (ROIC) และนโยบายด้านเงินทุนที่สนับสนุนการเติบโตของบริษัทได้อย่างไร - การสร้างคุณค่าผ่านการเติบโตของธุรกิจและการปฏิบัติตามหลัก ESG
รายงานฉบับนี้นำเสนอมุมมองด้านความเป็นผู้นำของริโก้ ผู้นำของหน่วยธุรกิจต่างๆ ที่กล่าวถึงแนวคิด กลยุทธ์ และความคิดริเริ่มสำหรับประเด็นการเติบโตของธุรกิจ และมุมมองของประธานสำนักงานใหญ่จากแผน MTS ฉบับที่ 21 ในหัวข้อ ESG นอกจากกล่าวถึงการที่ริโก้พยายามทำให้โครงสร้างการควบคุมดูแลองค์กรเป็นไปอย่างโปร่งใสและมีประสิทธิภาพแล้ว ยังมุ่งเน้นในเรื่องความคิดริเริ่มและความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นสำคัญอีกด้วย
รายงาน TCFD ของริโก้ กรุ๊ป ประจำปี พ.ศ. 2566
ในปี พ.ศ. 2561 ริโก้ได้ประกาศความรับผิดชอบต่อแนวทางการเปิดเผยประเด็นด้านการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ (TCFD) นับแต่นั้นเป็นต้นมา ริโก้ได้สนับสนุนความคิดริเริ่มในการบรรเทาและบังคับใช้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หลังจากระบุความเสี่ยงและโอกาสเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในขณะเดียวกัน ก็มีการเปิดเผยข้อมูลบนเว็บไซต์และสื่ออื่นๆ บนพื้นฐานของขอบข่ายการเปิดเผยข้อมูล TCFD โดยดำเนินการออกรายงานนี้มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564
รายงานฉบับปี พ.ศ. 2566 กล่าวถึงแผนกลยุทธ์ของขอบเขตที่ 1 2 และ 3 เกี่ยวกับมาตรการลดการปล่อย GHG และผลกระทบภายในปี พ.ศ. 2573 โดยละเอียด รวมถึงตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงของขอบเขตที่ 3 เรื่องมาตรการการลดทอนเพื่อปลูกฝังความรับผิดชอบต่อแนวปฏิบัติด้านความโปร่งใสและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของริโก้
รายงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของริโก้ กรุ๊ป ประจำปี พ.ศ. 2566
แนวคิด Comet Circle™ จัดทำขึ้นในปี พ.ศ. 2537 เป็นแนวคิดในการนำเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ โดยริโก้ได้มุ่งมั่นดำเนินงานโดยมีวิสัยทัศน์เป็นรากฐานมาเกือบ 30 ปี โดยสนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพตลอดทั้งวงจรของผลิตภัณฑ์ และความคิดริเริ่มที่จำเป็นในการนำเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ ซึ่งความตั้งใจนี้ ริโก้ได้ปฏิรูปการรีไซเคิลและการนำสินค้าและชิ้นส่วนกลับมาใช้ใหม่ในกิจการเชิงพาณิชย์
รายงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ออกมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 ถือเป็นรายงานฉบับแรกจากบริษัทญี่ปุ่น ตั้งแต่นั้นมา ริโก้ได้ออกรายงานนี้ทุกปี เพื่อสนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลผ่านการสนทนากับผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรายงานของปี พ.ศ. 2566 ที่มีการปรับแก้แล้ว เป็นสิ่งที่สนับสนุนการเปิดเผยหนึ่งในเป้าหมายด้าน ESG ของเรา และอัตราการใช้วัสดุสำหรับผลิตภัณฑ์ โดยกล่าวถึงมาตรการและผลกระทบของการลดทอนภายในปี พ.ศ. 2573 ผลกระทบจากการลด GHG และผลกระทบจากการอนุรักษ์ทรัพยากรในกรณีศึกษาเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรด้วย เพื่อเสริมความรับผิดชอบของริโก้และการเปิดเผยข้อมูล
หนังสือรวบรวมข้อมูลด้าน ESG ของริโก้ กรุ๊ป ประจำปี พ.ศ. 2566
ริโก้ได้ออกหนังสือรวบรวมข้อมูลด้าน ESG ซึ่งนำเสนอความคิดริเริ่มด้าน ESG ของบริษัทเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 ข้อมูลในหนังสือนี้มีการอัปเดตอยู่เสมอ เพื่อสะท้อนถึงแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ ESG และเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัดด้าน ESG ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงนำเสนอเป้าหมายด้าน ESG ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่มีการตรวจสอบแล้วจากปีงบประมาณ 2566
ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง
รายงานเชิงบูรณาการ
https://www.ricoh.com/about/integrated-report
การเปิดเผยข้อมูลตามขอบข่าย TCFD
https://www.ricoh.com/sustainability/report/tcfd
รายงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน
https://www.ricoh.com/sustainability/report/ce
หนังสือรวบรวมข้อมูลด้าน ESG
https://jp.ricoh.com/sustainability/report/databook
สาระสำคัญสำหรับริโก้ กรุ๊ป
https://www.ricoh.com/sustainability/materiality
News & Events
Keep up to date
- 14พ.ย.
เครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชัน IM C320F จากริโก้คว้ารางวัล Pick Award ประจำปี 2567 จาก Keypoint Intelligence
- 31ต.ค.
ริโก้เผยแพร่เอกสาร Ricoh Group Integrated Report 2024 และ Ricoh Group Environmental Report 2024
- 21ต.ค.
ลงทะเบียนฟรี งานสัมมนาออนไลน์จากริโก้ หัวข้อ “Cyber Transformation & Operations”
- 18ต.ค.
ริโก้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสามัญในศูนย์ญี่ปุ่นเพื่อการมีส่วนร่วมและแก้ไขปัญหาทางธุรกิจและสิทธิมนุษยชน