ศูนย์พัฒนาธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมของริโก้เป็นที่ยอมรับในเรื่องการคงสภาพพื้นที่เขียวที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมถึง 13.75 ไร่ (2.2 เฮกตาร์)

12 มี.ค. 2567

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2567 ณ กรุงโตเกียว –ศูนย์พัฒนาธุรกิจสีเขียวของริโก้ เมืองโกเต็มบะ จังหวัดชิซุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ผ่านการรับรองให้เป็น 'มาตรการการอนุรักษ์พื้นที่อื่นที่มีประสิทธิภาพ' (OECM) จากกระทรวงสิ่งแวดล้อมของประเทศญี่ปุ่น คำว่า 'OECM' หมายถึง "สถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับการคุ้มครองที่ส่งผลให้การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในระยะยาวภายใต้การบริหารและการจัดการที่ยุติธรรม"

นี่เป็นรางวัลที่สองสำหรับ ริโก้ หลังจากการรับรองโครงการ 'ผืนป่าริโก้เอนะ' ที่ตั้งอยู่ในเมืองเอนะ จังหวัดกิฟุ ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2566 ซึ่งเป็นหลักฐานเพิ่มเติมให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทที่ต้องการสร้างสังคมที่ "ปฏิบัติเชิงบวกต่อธรรมชาติ" และ "ไม่ตัดไม้ทำลายป่า" โดยมีมาตรการป้องกันความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและสนับสนุนการฟื้นตัวของธรรมชาติ

ริโก้ ได้รักษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งมีชีวิตและแมลง ภายในพื้นที่ของศูนย์พัฒนาธุรกิจสีเขียวด้วยต้นไม้ใหญ่ เช่น สนไซเปรสสายพันธุ์ญี่ปุ่น โอ๊คไม้ก็อกจีน เชอร์รี่ ป่าไผ่ ทุ่งหญ้า อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ทำให้เป็นสถานที่อยู่อาศัยของระบบนิเวศน์และสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ รวมถึงผีเสื้อ แมลงปอ แมลงปีกแข็ง และจักจั่น มีการยืนยันแล้วว่ามีผีเสื้อถึง 33 สายพันธุ์อยู่ ณ ที่แห่งนี้ด้วย เช่น สายพันธุ์ Parnassius Citrinarius สายพันธุ์ Damselfly และ สายพันธุ์ Neope goschkevitschii

ระบบการรับรอง OECM เปิดตัวในปี พ.ศ. 2566 จากการประชุม Nature Compact 2030 โดยผู้นำกลุ่มประเทศ G7 ที่มีขึ้นใน G7 Cornwall Summit เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 โดยระบุว่าประเทศสมาชิก G7 ควรเป็นผู้นำด้านคุ้มครองพื้นดิน พื้นที่ชายฝั่ง และมหาสมุทร 30% เป็นอย่างน้อยภายในปี พ.ศ. 2573 (โครงการ 30by30)

กลุ่มบริษัทริโก้ได้เข้าร่วมพันธมิตร 30by30 เพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางด้านชีวภาพ ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ในประเทศญี่ปุ่น และยังคงมีความมุ่งมั่นในการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่โดยการทำงานเพื่อให้เข้าใจความเสี่ยงต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และลดผลกระทบของกิจกรรมธุรกิจต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องในด้านต่างๆ ขณะที่ยังรักษาสภาพแวดล้อมและปรับปรุงความสามารถในการฟื้นฟูโลกต่อไป

The-Ricoh-Eco-Business-Development-Centerศูนย์พัฒนาธุรกิจสีเขียวของริโก้ เมืองโกเตมบะ ประเทศญี่ปุ่นผีเสื้อ สายพันธุ์
Parnassius-citrinariusParnassius Citrinarius
30by30-Alliance-for-biodiversityพันธมิตร 30by30 เพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางด้านชีวภาพ

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
https://www.ricoh.com/sustainability/environment/biodiversity

การพัฒนาป่าไม้ผ่านการความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง
https://www.ricoh.com/sustainability/environment/biodiversity/initiative/forest_stakeholder

ศูนย์พัฒนาธุรกิจสีเขียวของริโก้
https://www.ricoh.com/sustainability/environment/eco_business_center

ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง

โครงการผืนป่าริโก้เอนะได้รับการรับรองให้เป็นมาตรการการอนุรักษ์พื้นที่อื่นที่มีผลสำหรับการอนุรักษ์โดยกระทรวงสิ่งแวดล้อมของประเทศญี่ปุ่น
https://www.ricoh.com/info/2023/1010_1