ความท้าทายทางธุรกิจที่เกิดจากโรคโควิด 19
สภาพแวดล้อมการทำงานทุกวันนี้นั้นแตกต่างไปจากเมื่อช่วงเดือนมีนาคมปี 2020 อย่างมาก เราได้สำรวจลูกค้าจำนวนมากกว่า 1.4 ล้านคนจากหลากหลายธุรกิจ ผลการสำรวจได้เปิดเผยว่าลูกค้าส่วนใหญ่คาดหวังว่าสภาพแวดล้อมการทำงานจะเกิดการพัฒนาเร็วกว่านี้
ในปี 2021 นี้ ทั้งลูกค้าและธุรกิจของเราเองต่างก็เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อเราลองมองย้อนไปยังข้อคิดเห็นเหล่านั้นของลูกค้า เราพบว่าความท้าทายที่ลูกค้าระบุในขณะนั้นค่อนข้างชัดเจนและยังคงมีความเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในทุกวันนี้
ความท้าทายของธุรกิจชั้นนำในวันนี้
ขณะที่บรรดาธุรกิจทั่วประเทศและทั่วโลกเริ่มมีประสบการณ์กับผลกระทบจากโรคโควิด 19 เรารับรู้ได้เลยว่าเราได้รับฟังและสนับสนุนลูกค้าของเราอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในขณะที่การสื่อสารกับลูกค้าด้วยความเข้าใจอย่างสม่ำเสมอเป็นมาตรฐานของเรา เราได้เพิ่มความพยายามในการรับฟังและเรียนรู้สิ่งที่ลูกค้าต้องการเพื่อรับมือกับความท้าทายจากประเด็นเรื่องการหยุดให้บริการ รายได้จากธุรกิจ และอื่นๆ
การสำรวจของเราประกอบไปด้วยภาคธุรกิจจากหลากหลายอุตสาหกรรม ประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมการผลิต, สุขภาพ, ธุรกิจค้าปลีก, การเงิน, เทคโนโลยี, วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และอื่นๆ และไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลยว่าแต่ละบริษัทต่างเผชิญกับความท้าทายของตัวเองซึ่งแตกต่างกันออกไป ในขณะที่เราวิเคราะห์ข้อมูลเราก็พบว่าความต้องการเร่งด่วนที่สุดของพวกเขาสามารถแบ่งออกเป็นสี่กลุ่มหลัก ดังนี้ :
- Cloud and IT infrastructure: ความต้องการเทคโนโลยีที่จะเข้ามาสนับสนุนความต้องการในการทำงานแบบใหม่ เช่น การทำงานทางไกล, กระบวนการอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการประชุมแนวทางด้านสุขภาพและความปลอดภัย
- Workflow and process automation: เวิร์กโฟลว์ที่ยังเน้นการทำงานบนกระดาษเป็นหลักนั้นไม่เหมาะสมกับพนักงานที่ทำงานกันแบบกระจายตัวซึ่งต้องการการสื่อสารและการทำงานร่วมกันมากขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานและการตัดสินใจในแต่ละวัน
- Remote work enablement: การ Work from home ทำให้เกิดความท้าทายหลายด้านนอกเหนือจากการเชื่อมต่อ เช่น ข้อมูลและความปลอดภัยด้านไซเบอร์, ความต่อเนื่องทางธุรกิจ และการรับมือจากภัยพิบัติ
- Ensuring a safe and smart workplace: ในขณะที่พนักงานสามารถทำงานทางไกลได้ ก็ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถทำได้ ทำให้เกิดความต้องการต่อโซลูชันที่จะมาเพิ่มความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน เช่น การลดการใช้พื้นผิวสัมผัสร่วมกัน
การจัดกลุ่มความท้าทายทางด้านธุรกิจเช่นนี้นั้นทำให้ง่ายต่อการจัดการปัญหามากขึ้น เบื้องหลังของความท้าทายทั้งสี่ข้อนั้น เราพบความคิดหนึ่งที่มีจุดร่วมเดียวกันก็คือ ความต้องการที่จะเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation) ของพวกเขา
องค์ประกอบหลักในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จ
คำว่า Digital Transformation นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เลยสำหรับผู้นำทางธุรกิจส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้ แต่สิ่งที่หลายๆ คนไม่คาดคิดก็คือความจำเป็นในการนำ Digital Transformation มาใช้นั้นดูเหมือนจะเร็วกว่าเดิม
จากการสำรวจเราพบว่าลูกค้าของเราทุกคนตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดหาเครื่องมือที่เหมาะสมให้กับพนักงานที่กระจัดกระจายตัว เพื่อช่วยให้พวกเขาเกิดสมาธิและมีประสิทธิภาพในการทำงาน ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้พนักงานมีความคล่องตัวและสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างปลอดภัยจากที่ใดก็ได้
ในขณะที่ลูกค้าจำนวนมากที่ตอบแบบสำรวจรู้สึกว่าพวกเขามีพื้นฐานเพียงพอในการสนับสนุนพนักงานที่ทำงานทางไกล แต่พวกเขายังคงเกิดคำถามสำคัญๆ หลายข้อ:
- ธุรกิจจะได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนในปัจจุบันไปอีกนานเท่าใด
- เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าพนักงานของเราจะปลอดภัย เชื่อมต่อถึงกัน และเกิดแรงจูงใจ
- เราจะเอาชนะความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่เกิดขึ้นจากการทำงานทางไกลได้อย่างไร
- โซลูชันทางเทคโนโลยีใดบ้างที่จะช่วยให้เราปรับตัวและเติบโตในโลกแห่งการทำงานยุคใหม่
จากคำถามเหล่านี้สะท้อนว่าพวกเขาต้องการพาร์ทเนอร์ที่จะเข้ามาช่วยเหลือและชี้นำแนวทางในด้าน Digital Transformation ของพวกเขา
รายงานจาก MIT Sloan Management Review and Deloitte's Digital Business Report ระบุว่า 80% ของผู้ตอบแบบสอบถามจากบริษัทที่มีความก้าวหน้าด้านดิจิทัลกล่าวว่าองค์กรของพวกเขาปลูกฝังความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัล
เข้าใจพลังของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล
จากการศึกษาของเรา เราพบว่าผู้นำธุรกิจต่างๆ เข้าใจแนวคิดของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล แต่ความท้าทายไม่ใช่แค่การรู้ว่าต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลหรือไม่ ความท้าทายก็คือการมองเห็นภาพว่า Digital Transformation นั้นจะสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อองค์กรอย่างไร แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลนั้นอาจเป็นเรื่องยากที่จะเห็นภาพ นี่คือตัวอย่างล่าสุดขององค์กรที่เราได้รับเกียรติและโอกาสในการทำงานร่วมกัน
จะสร้างการทำงานที่คล่องตัวได้ในองค์กรได้อย่างไร
ตัวอย่างที่ชัดเจนของแนวทางนี้ก็คือการทำงานของเรากับระบบการดูแลสุขภาพระดับภูมิภาคขนาดใหญ่พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่เชื่อมต่อถึงกันมากกว่า 90 แห่ง
พวกเขาต้องเผชิญกับความท้าทายยิ่งใหญ่ในการจัดการกับข้อมูลและการค้นหาทางเลือกการจัดการในรูปแบบดิจิทัล ในอุตสาหกรรมที่ยังคงใช้แฟกซ์เป็นหลักอย่างอุตสาหกรรมด้านสุขภาพนั้น ลูกค้าเห็นอัตราความล้มเหลวจากการใช้แฟกซ์ 10-30% ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการดูแลผู้ป่วย นอกจากนี้แล้วพวกเขายังพบอุปสรรคในการจัดการระหว่างแผนกหรือสาขาซึ่งทำให้พวกเขาไม่สามารถแชร์ข้อมูลสำคัญของคนไข้ถึงกันได้
ทั้งนี้ระบบก็ได้เปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบดิจิทัลในบางส่วนแล้ว อย่างไรก็ตามพวกเขายังคงพึ่งพาแรงงานที่มีค่าใช้จ่ายสูงในการสแกนและจัดการเอกสารที่เป็นกระดาษเพื่อให้พาร์ทเนอร์ของพวกเขาที่อยู่ต่างสถานที่สามารถเข้าถึงข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลได้เช่นกัน
เป้าหมายคือการพัฒนาโซลูชันเทคโนโลยีแบบอัตโนมัติและไร้การใช้กระดาษอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งจะทำให้กระบวนการมีความคล่องตัวและเป็นดิจิทัลมากขึ้น เราได้วิเคราะห์สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ขององค์กรร่วมกันกับลูกค้า และสรุปได้ว่าสามารถลดการใช้แฟกซ์แบบกระดาษโดยสิ้นเชิง ลดต้นทุน และเพิ่มความคล่องตัวได้
สุดท้ายแล้วด้วยวิธีการนี้ทำให้การส่งข้อมูลแบบกระดาษลดลงถึง 64% ในเวลาเพียงสัปดาห์เดียว นอกจากนี้ยังมีบริการด้านสุขภาพโดยตรงซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับกระดาษ, หมึก และอุปกรณ์อื่นๆ
Digital Transformation จะช่วยคุณได้อย่างไร
การพิจารณาเวิร์กโฟลว์และระบบอัตโนมัติของกระบวนการใหม่เผยให้เห็นวิธีที่เราสามารถตอบสนองต่อการทำงานทางไกลและความท้าทายของโรคโควิด19 และปรับให้เหมาะสมสำหรับอนาคต เส้นทางสู่การทำงานที่มีความยืดหยุ่นนั้นต้องใช้ความคล่องตัวและจำเป็นต้องมีพันธมิตรที่เชื่อถือได้
ที่มา: https://www.ricoh-usa.com/en/insights/articles/top-business-challenges
News & Events
Keep up to date
- 14พ.ย.
เครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชัน IM C320F จากริโก้คว้ารางวัล Pick Award ประจำปี 2567 จาก Keypoint Intelligence
- 31ต.ค.
ริโก้เผยแพร่เอกสาร Ricoh Group Integrated Report 2024 และ Ricoh Group Environmental Report 2024
- 21ต.ค.
ลงทะเบียนฟรี งานสัมมนาออนไลน์จากริโก้ หัวข้อ “Cyber Transformation & Operations”
- 18ต.ค.
ริโก้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสามัญในศูนย์ญี่ปุ่นเพื่อการมีส่วนร่วมและแก้ไขปัญหาทางธุรกิจและสิทธิมนุษยชน