วิธีสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานในการปฏิรูปสู่ดิจิทัล
การปฏิรูปสู่ดิจิทัลได้เปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจ การก้าวทันการเปลี่ยนแปลงนี้จึงถือว่าเป็นหัวใจสำคัญต่อความสำเร็จของทุกองค์กรทั้งในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้นเพื่อทำให้องค์กรสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานและสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน
บทความ "3 วิธีการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อการปฏิรูปสู่ดิจิทัล" ได้กล่าวถึงประสบการณ์การใช้งานเทคโนโลยีนอกสถานที่ทำงานได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่งได้กลายเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่พนักงานคาดหวังสำหรับที่ทำงาน หากองค์กรไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังนี้ได้ ย่อมเสี่ยงต่อการลดทอนการสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการให้บริการลูกค้าและลดความสามารถในการแข่งขัน
เพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ พนักงานต้องมีส่วนร่วมในการช่วยให้บริษัทประสบความสำเร็จ พวกเขาต้องใส่ใจพอที่จะฟัง ไตร่ตรอง และรักษาความก้าวหน้าของงานให้ดำเนินต่อไป จากการสำรวจของ Gallup พบว่า มีพนักงานเพียง 30% เท่านั้นที่มีส่วนร่วมในงาน ขณะเดียวกันยังระบุว่า "16% ของพนักงานไม่เพียงแต่ไม่เข้าร่วม แต่ยังรู้สึกไม่พอใจในที่ทำงานและพยายามทำให้องค์กรเสียหาย ส่วนที่เหลืออีก 51% ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วม" ประสบการณ์ในที่ทำงานแสดงให้เราเห็นว่าพนักงานที่ไม่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงจะสื่อสารในรูปแบบที่ลดขวัญกำลังใจ ซึ่งส่งผลให้จำนวนพนักงานที่ไม่เข้าร่วมมีเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่คุณจะต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับปัญหานี้อย่างกระตือรือร้น โดยไม่เพียงแต่เพื่อช่วยให้พนักงานสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานและลูกค้าได้ดีขึ้น แต่ยังเพื่อรักษาองค์กรให้มั่นคงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
สร้างแรงจูงใจผ่านการใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด
บทความ 3 วิธีการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อการปฏิรูปสู่ดิจิทัลได้ให้คุณสำรวจสามขั้นตอนที่จำเป็นสำหรับการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ซึ่งเป็นการประเมินว่าคุณใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีอย่างไรในปัจจุบัน ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่จะเจาะลึกกระบวนการปฏิรูปสู่ดิจิทัล โดยมุ่งเน้นให้พนักงานสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของข้อมูลให้กลายเป็นข้อมูลเชิงลึกที่มีประโยชน์มากขึ้น คุณสามารถตอบคำถามเหล่านี้เพื่อประเมินความก้าวหน้าในกระบวนการปฏิรูปสู่ดิจิทัล:
- ปัจจุบัน คุณใช้ข้อมูลที่บอกแค่สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตใช่ไหม?
- คุณก้าวหน้าไปอีกขั้นโดยใช้ข้อมูลเพื่อคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ไหม?
- คุณสามารถใช้ข้อมูลเพื่อกำหนดสิ่งที่ต้องทำให้สำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรได้ไหม?
หากคุณได้ปฏิบัติตามขั้นตอนใน “3 วิธีการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อการปฏิรูปสู่ดิจิทัล” คุณก็จะพบข้อมูลที่ช่วยขับเคลื่อนกำไรและนวัตกรรมจากการสร้างส่วนร่วมกับทีมมากขึ้น และหากคุณสามารถตอบคำถามข้อสุดท้ายได้อย่างมั่นใจ แสดงว่าคุณอยู่ในจุดที่สามารถเปลี่ยนข้อมูลเป็นข้อมูลเชิงลึกเพื่อช่วยขับเคลื่อนองค์กรได้
ตามที่ R "Ray" Wang กล่าวไว้ว่า “การวิเคราะห์ข้อมูลช่วยให้ค้นพบข้อมูลเชิงลึกและสิ่งที่เกี่ยวข้อง และคาดการณ์อนาคต” การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลช่วยให้ทีมของคุณสามารถสร้างแนวคิดใหม่ๆ ผ่านข้อมูลที่ชาญฉลาด โดยมีเทคโนโลยีหลายประเภทที่ช่วยให้คุณใช้ประโยชน์จากข้อมูลในลักษณะนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็น:
- แดชบอร์ดที่ใช้งานง่าย ซึ่งช่วยจัดระเบียบและให้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำเพื่อการตัดสินใจเรื่องต่างๆ
- โครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ที่ช่วยรวมศูนย์ข้อมูลและเข้าถึงได้ง่ายทั้งสำหรับพนักงานในที่ทำงานและนอกสถานที่
- ตัวชี้วัด, KPI และสถิติอื่นๆ ที่ช่วยให้พนักงานเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ
เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญผ่านการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ พนักงานจึงไม่ควรแค่นำเทคโนโลยีมาใช้ แต่ต้องสามารถใช้มันได้โดยไม่มีปัญหา
นิยามและจินตนาการถึงการปฏิรูปสู่ดิจิทัลในอุดมคติของคุณ เรียนรู้วิธีสร้างแผนงานที่จะช่วยให้คุณ
ปรับการปฏิรูปสู่ดิจิทัลให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจของคุณ ซึ่งรวมถึงเป้าหมายต่างๆ เช่น การเติบโตของบริษัท
การลดต้นทุน และการปรับปรุงกระบวนการ ตลอดจนวัตถุประสงค์ของโครงการเฉพาะต่างๆ ด้วย
เพิ่มการยอมรับการใช้งานเทคโนโลยีและกระตุ้นการเติบโตด้วยข้อมูลทางธุรกิจ
ตามข้อมูลของ IDC ระบุว่า 77% ของผู้บริหารให้ความสำคัญกับการใช้งานเทคโนโลยี แต่การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้งานไม่ได้หมายความว่าทีมของคุณจะยอมรับมัน ซึ่งการยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้างความผูกพันให้กับพนักงานเพื่อใช้เทคโนโลยีใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งคุณก็อาจเคยเห็นกระดานไวท์บอร์ดในห้องประชุมที่ไม่มีใครใช้งาน ดังนั้นวิธีที่คุณใช้เทคโนโลยีจึงเป็นเรื่องสำคัญ แต่ถ้ามันไม่ได้สอดคล้องกับความต้องการของบริษัท พนักงานก็จะไม่ค่อยสละเวลาเพื่อศึกษาวิธีการใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีความยากในการเรียนรู้สูงและต้องใช้เวลาเรียนรู้นาน สุดท้ายแล้วสถานการณ์เช่นนี้อาจนำไปสู่สภาพการทำงานที่ยุ่งเหยิงและไม่เกิดประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้พนักงานไม่มีกำลังใจ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจว่าคุณกำลังซื้อเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้และตอบสนองต่อวัตถุประสงค์การใช้งาน
พนักงานต้องสามารถเดินเข้าไปในห้องประชุมและรู้สึกมั่นใจว่าสามารถใช้เทคโนโลยีการทำงานร่วมกันได้ โดยมีความรู้ว่ามันจะช่วยสนับสนุนความคิดเห็นของพวกเขาได้อย่างไร การแบ่งปันความคิดเห็นและการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนนวัตกรรม ซึ่งหมายถึงการนำเทคโนโลยีการทำงานร่วมกันที่เรียนรู้ได้ง่ายและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมาใช้ แม้ว่าจะนำโซลูชันการทำงานร่วมกันที่ดีที่สุดมาใช้ แต่ถ้าพนักงานไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จะช่วยให้พวกเขานำเสนอความคิดเห็นได้มากขึ้น พนักงานก็จะไม่ใช้งานโซลูชันนั้น
เมื่อค้นหาเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ข้อมูลของคุณกลายเป็นข้อมูลเชิงลึก ควรให้ทีมของคุณทำสิ่งดังต่อไปนี้ได้
- ระบุข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำซึ่งสนับสนุนประเด็นที่พวกเขาต้องการจะชี้ให้เห็น
- เข้าใจว่าตัวชี้วัด, KPI และสถิติอื่นๆ ที่พวกเขาใช้จะช่วยปรับปรุงผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างไร
- เข้าใจและสามารถแปลความหมายได้ว่าข้อมูลนั้นมีค่าเพียงใด
แม้ว่าข้อมูลที่ช่วยให้ทีมสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ จะเป็นเรื่องสำคัญ แต่การเข้าใจคุณค่าของข้อมูลทั้งหมดก็จำเป็นอย่างยิ่งในการค้นหาเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ทีมของคุณสามารถสร้างกำไรจากคุณค่าทั้งหมดนั้น
Wang กล่าวไว้ว่า "ตั้งแต่ปี 2543 บริษัท 52% ใน Fortune 500 ได้ล้มละลาย ถูกซื้อกิจการ หรือหยุดดำเนินการ" ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในตลาดไม่ทัน อาจกล่าวได้ว่ามันเกิดจากความพยายามของบริษัทในการขับเคลื่อนการปฏิรูปสู่ดิจิทัลโดยไม่ได้ทำการสำรวจอย่างครบถ้วนว่าเทคโนโลยีที่เหมาะสมสามารถนำมาใช้เพื่อผลลัพธ์ทางธุรกิจและการมีส่วนร่วมของพนักงานได้อย่างไร ดังนั้นการมองหาเทคโนโลยีเพียงแค่เห็นว่าเป็นเทคโนโลยีย่อมไม่ใช่คำตอบ
นี่คือเหตุผลที่การมุ่งเน้นไปที่วิธีการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงานเป็นสิ่งสำคัญ การตอบสนองต่อความคาดหวังที่เกิดจากความสะดวกสบายทางเทคโนโลยีที่พนักงานพบเจอนอกสถานที่ทำงานเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาในการตัดสินใจในทุกขั้นตอนตลอดเส้นทางการปฏิรูปสู่ดิจิทัลของคุณ ดังนั้นเป้าหมายของคุณควรเป็นการทำให้พนักงานมีความสุขและมีส่วนร่วม ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพ ปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า และสร้างโอกาสใหม่ๆ ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของพนักงาน
ดูเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
- ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น: 3 วิธีการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อการปฏิรูปสู่ดิจิทัล
- เปลี่ยนรูปแบบความคิดของคุณ: 4 ขั้นตอนในเส้นทางสู่สถานที่ทำงานดิจิทัล
- จัดแนวทีมของคุณให้สอดคล้องกับดิจิทัล: ยกระดับประสิทธิภาพการทำงานด้วยการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและพนักงาน
- ให้การพิมพ์เป็นแนวทาง: ผลักดันการปฏิวัติทางดิจิทัลของคุณด้วยงานพิมพ์ที่หลากหลายกว่า
ที่มา: RICOH USA
News & Events
Keep up to date
- 23ม.ค.
ริโก้ได้รับการจัดอันดับเป็นบริษัทชั้นนำในกลุ่มการผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เสริม และยังได้รับตำแหน่งที่ 51 ในการจัดอันดับ 100 บริษัทที่ยั่งยืนที่สุดในโลกประจำปี 2025
- 16ม.ค.
ริโก้ได้รับการจัดอันดับให้เป็นผู้นำในรายงาน IDC MarketScape ปี 2024 สำหรับบริการการจัดการงานพิมพ์และเอกสารบนคลาวด์ทั่วโลก (Worldwide Cloud Managed Print and Document Services Hardcopy)
- 06ม.ค.
ริโก้ติดอันดับ 3 การจัดอันดับผู้ให้บริการโซลูชันภาพและเสียงชั้นนำของโลกโดย SCN ต่อเนื่องเป็นปีที่สอง
- 06ม.ค.
ริโก้ติดอันดับ 3 การจัดอันดับผู้ให้บริการโซลูชันภาพและเสียงชั้นนำของโลกโดย SCN ต่อเนื่องเป็นปีที่สอง