เทคโนโลยีแบบผสมผสาน (Composable Technology) ช่วยเร่งกระบวนการทำงานอัตโนมัติของผู้ให้บริการประกันภัยอย่างไร

04 ก.ค. 2566

ปัจจุบัน บริษัทประกันภัยต้องเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนักในการบรรลุระบบอัตโนมัติของเวิร์กโฟลว์ทั่วทั้งองค์กร ทั้งนี้เพื่อให้สามารถแข่งขันและสร้างผลกำไรได้ ผู้ให้บริการต้องปรับปรุงการดำเนินงานและปรับปรุงประสบการณ์ของพนักงานและลูกค้า อย่างไรก็ตาม วิธีการ กระบวนการ และระบบเดิมที่ล้าสมัยมักจะเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในพื้นที่ปฏิบัติงานหลัก ทำให้ยากต่อการบรรลุเป้าหมายของระบบอัตโนมัติที่สามารถ:

  • เร่งกระบวนการจัดการการเคลม: จัดการการเคลมอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย STP (การประมวลผลโดยตรง) และ NPS (คะแนนโปรโมเตอร์สุทธิ)
  • ป้องกันการฉ้อโกง: ตรวจสอบว่าคำขอนั้นน่าสงสัยหรือไม่และต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติมอย่างไร จากข้อมูลของ FBI อุตสาหกรรมต้องเผชิญกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากการฉ้อโกงประมาณ 4 หมื่นล้านเหรียญต่อปี
  • ยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า: ตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นผู้ที่คุ้นเคยกับความสะดวก รวดเร็ว และพึงพอใจกับการมีส่วนร่วมในทุกช่องทางที่ไร้รอยต่อและมีความเป็นส่วนตัว
  • ปรับปรุงการกำกับดูแลข้อมูลและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ: แข่งขันกับข้อกำหนดการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เข้มงวด รวมถึง ESG และ DEIB, Gramm-Leach-Bliley Act (GLBA) และ HIPAA รวมถึงกฎความเป็นส่วนตัวเช่น CCPA และ CDPA
ผู้ประกันตนจะก้าวหน้าได้อย่างไร?

ไม่น่าแปลกใจที่การสำรวจของ Deloitte เมื่อเร็วๆ นี้พบว่า 95% ของผู้ประกันตนจำนวนมากกล่าวว่าปัจจุบันพวกเขามุ่งเน้นไปที่การเร่งความเร็วการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของพวกเขา² พวกเขาทำงานอย่างหนักในการพัฒนา เปลี่ยนจากสถาปัตยกรรมการออกแบบ และพัฒนาซอฟต์แวร์ ระบบหรือบริการที่รวมทุกส่วนเอาไว้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ใช้ฐานข้อมูลเดียวกันที่ไม่มีความยืดหยุ่นมาเป็น โซลูชันเทคโนโลยีที่มอบความสามารถ (และความว่องไว) ความยืดหยุ่น และความสามารถในการปรับขยายเพื่อรองรับทั้งสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงและคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบที่ล้าสมัยจะต้องถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีที่พร้อมสำหรับอนาคต ซึ่งจะสร้างเวิร์กโฟลว์ที่คล่องตัวมากขึ้นและเพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกันของเทคโนโลยี ซึ่งอาจนำไปสู่ผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการลงทุนด้านเทคโนโลยี

“สถาปัตยกรรมแบบผสมผสานใช้โซลูชั่นที่ทำงานร่วมกันได้ ซึ่งช่วยเพิ่มความคล่องตัว ช่วยให้บริษัทต่างๆ ก้าวทันและตอบสนองต่อโอกาสใหม่ๆ ได้อย่างว่องไว
– Accenture กรณีของสถาปัตยกรรมแบบผสมผสานในการประกันภัย

การป้อนเทคโนโลยีแบบผสมผสาน

วิธีหนึ่งคือแนวทางการปฏิบัติที่ใช้โค้ดน้อยที่สุด หรือสถาปัตยกรรมแบบผสมผสาน การออกแบบเทคโนโลยีแบบผสมผสานนำเสนอแนวทางที่ยืดหยุ่นและปรับขนาดได้ ซึ่งช่วยให้บริษัทประกันสามารถพัฒนาและปรับใช้โซลูชันระบบอัตโนมัติได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถเพิ่มความคล่องตัวให้กับเวิร์กโฟลว์ ลดการแทรกแซงด้วยตนเอง และปรับปรุงความแม่นยำของข้อมูล

การออกแบบแบบผสมผสานช่วยให้บริษัทประกันปรับตัวเข้ากับความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง จัดการกับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้น และปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวม ด้วยการน้อมรับแนวทางนี้ พวกเขาสามารถอยู่เหนือคู่แข่งและบรรลุเป้าหมายด้านระบบอัตโนมัติในขณะที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านกฎระเบียบและปรับปรุงประสบการณ์โดยรวมของลูกค้า

สิ่งที่เราเรียนรู้ได้จาก LEGO®

เราจะนิยามคำว่า “โซลูชันที่ทำงานร่วมกันได้อย่างไร” ลองนึกถึงบล็อก LEGO® เมื่อเปรียบเทียบกับการสร้างบล็อก การออกแบบแบบผสมผสานได้ใช้วิธีการแบบโมดูลาร์ ซึ่งเป็นวิธีที่แบ่งโปรแกรมเป็นเนื้อหาย่อยๆ เมื่อมีการให้บริการดิจิทัลและการพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งแต่ละ "บล็อก" จะแสดงถึงส่วนประกอบของโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี

เมื่อประกอบบล็อกทั้งหมดเข้าด้วยกัน เราสามารถสร้างระบบของการใช้งานที่ซับซ้อน ในขนาด รูปร่าง หรือสัดส่วนใดๆ ซึ่งการใช้ส่วนประกอบต่างๆ ที่ขนาดเล็กและใช้ซ้ำได้ ทำให้สามารถสร้างหรือปรับแต่งโครงสร้างตามต้องการได้อย่างง่ายดาย ส่วนประกอบแต่ละอย่างที่ใช้ในกระบวนการพัฒนาสามารถเชื่อมต่อกันได้และสามารถเปลี่ยน ปรับขนาด และปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ ทั้งนี้แต่ละส่วนประกอบยังสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในภาษาหรือรหัสโปรแกรม

ในทางตรงกันข้าม แม้ว่าระบบ Monolithic หรือการติดตั้งระบบแบบเป็นกลุ่มเดียว ที่สร้างขึ้นบนสถาปัตยกรรมกล่องดำจะมีคุณสมบัติมากมาย แต่มันก็ยากที่จะอัปเดต ปรับเปลี่ยน และปรับขนาด นอกจากนี้เนื่องจากระบบ Monolithic พยายามเป็นโซลูชันที่มี "รูปแบบที่ตายตัวแต่ใช้กับงานทุกประเภท" ระบบ Monolithic จึงไม่ได้ขยายความสามารถระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรมไปทั่วทั้งชุดเทคโนโลยีเสมอไป

เทคโนโลยีแบบผสมผสานทำงานอย่างไร

สถาปัตยกรรมแบบผสมผสานตั้งอยู่บนหลักการ API-first; การโต้ตอบทั้งหมดในชุดเทคโนโลยีเกิดขึ้นผ่านการแลกเปลี่ยนระหว่าง Application Programming Interfaces (API) ซึ่งการใช้ API เป็นส่วนหนึ่งของโซลูชันที่ช่วยลดปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ และทำให้ชุดเทคโนโลยีทั้งหมดมีการทำงานได้รวดเร็วและง่ายดายมากยิ่งขึ้นตามที่ต้องการ มากไปกว่านั้น API ยังเป็นเหมือน "ช่องทางการสื่อสาร" ระหว่างแอปพลิเคชันในชุดการพัฒนาที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเวลาหรือความพยายามในการรวบรวมบริการต่างๆ เข้าด้วยกัน

เทคโนโลยีแบบผสมผสานทำอะไรได้บ้าง

การผสมผสานของโครงสร้างนี้นำมาซึ่งรากฐานที่แข็งแกร่งและทรงพลังที่ทำให้สามารถทำแอปพลิเคชันได้อย่างเป็นสัดเป็นส่วน  การใช้แนวทางนี้ในการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล (Digital Transforamtion) ทีมไอทีของบริษัทจะสามารถสร้างระบบที่มีความยืดหยุ่นตามการเปลี่ยนแปลงต่างๆ รวมถึงสามารถใช้เทคโนโลยีปัจจุบันที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ ด้วยการ:

  • ปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการให้ทันต่อตลาดด้วยการพัฒนาแบบเป็นขั้นเป็นตอน
  • นำส่วนประกอบกลับมาใช้ใหม่และลดต้นทุน: ส่วนประกอบของโครงสร้างแบบผสมผสานนั้นสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ จึงทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง
  • เพิ่มความยืดหยุ่นและหลีกเลี่ยงการใช้บริการเทคโนโลยีจจากภายนอกที่ทำให้เกิดข้อจำกัด: ซึ่งการนำเอาหลักการออกแบบโครงสร้างที่มีการออกแบบแยกเป็นส่วนๆ แล้วนำมาประกอบกัน มาประยุกต์ใช้ จะทำให้การสื่อสารระหว่างเทคโนโลยีเป็นไปได้อย่างราบรื่น และทำให้เครื่องมือใหม่ๆสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วได้อย่างง่ายดาย
  • ขยับขยายได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายหรือโอกาส: โครงสร้างแบบผสมผสานนั้นมีความยืดหยุ่นอย่างมาก ดังนั้นการขยายบริการเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและโอกาสจึงทำได้ง่ายและรวดเร็ว และสามารถเพิ่ม API และเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อรองรับการเติบโตได้ตามต้องการ
เหตุใดเทคโนโลยีแบบผสมผสานจึงมีความจำเป็น

เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดและมีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน บริษัทประกันจำเป็นต้องเร่งเวลาและลดค่าใช้จ่าย และวิธีการแบบเดิมจะไม่ได้ผลอีกต่อไป จึงต้องผลักดันให้บริษัทต่างๆ ค้นหาโซลูชันที่ทันสมัยที่จะนำมาซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญ เช่น:

  • ความคล่องตัว: ช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการทางธุรกิจและความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็ว การออกแบบที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถเพิ่มหรือลบส่วนประกอบได้ตามต้องการ ทำให้สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมและการกลับมาทำซ้ำได้อย่างรวดเร็ว
  • ขอบเขตความสามารถ: ช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดขอบเขตแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย – ไม่ว่าจะเป็นการทำซ้ำ ใช้ซ้ำ หรือรวบรวมเพื่อจัดการกับปริมาณงานและความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้น
  • ความยืดหยุ่น: ช่วยให้สามารถสร้างโซลูชันที่ปรับแต่งได้ตามความต้องการของธุรกิจ ส่วนต่างๆ สามารถประกอบรวมกันได้ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อสร้างแอปพลิเคชันที่มีความเฉพาะตัวและสามารถรวมเข้ากับระบบที่มีอยู่ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การปรับเปลี่ยนส่วนต่างๆ ให้เข้ากับความต้องการทางธุรกิจเป็นเรื่องง่าย
  • ประสิทธิภาพ: ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยลดความซ้ำซ้อนและปรับปรุงการใช้รหัสซ้ำ การประสานของส่วนประกอบต่างๆ สามารถถูกพัฒนา ทดสอบ และบำรุงรักษาได้อย่างอิสระ ทำให้นักพัฒนาสามารถมุ่งเน้นไปที่ส่วนประกอบเฉพาะที่พวกเขารับผิดชอบได้มากยิ่งขึ้น
  • นวัตกรรม: ช่วยให้องค์กรต่างๆ ลดเวลาในการพัฒนา เร่งเวลาในการออกสู่ตลาด และขับเคลื่อนโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ โดยใช้ประโยชน์จากส่วนประกอบที่สร้างไว้ล่วงหน้าและนำกลับมาใช้ใหม่ได้
  • ความสามารถในการทำงานร่วมกัน: ทำให้ง่ายต่อการแบ่งปันข้อมูล เวิร์กโฟลว์ และตรรกะทางธุรกิจ โดยปรับปรุงความสามารถในการทำงานร่วมกันระหว่างระบบและแอปพลิเคชันต่างๆ
  • ประหยัดต้นทุน: ลดต้นทุนโดยลดเวลาในการพัฒนา ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร

การออกแบบเทคโนโลยีแบบผสมผสานได้มอบความยืดหยุ่นและขอบเขตความสามารถที่ผู้ประกันตนจำเป็นต้องปรับปรุงเวิร์กโฟลว์ ลดการทำงานแบบแมนนวล และปรับปรุงความแม่นยำของข้อมูล สิ่งนี้จะผลักดันความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ จัดการกับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวม และที่สำคัญ คือลดความซับซ้อนในการตัดสินใจต่อเทคโนโลยีในอนาคต

Composable Technology

ที่มา:  RICOH USA  

 


News & Events

Keep up to date