เศรษฐกิจแบบร่วมมือกันจะเป็นตัวเปลี่ยนแปลงธุรกิจขนาดใหญ่ในอนาคตหรือไม่

04 ม.ค. 2567

ในปัจจุบันนี้ บริษัทรถเช่าที่ใหญ่ที่สุด คือ Uber และบริษัทอุตสาหกรรมสถานบริการที่ใหญ่ที่สุด ก็คือ Airbnb แล้วสองบริษัทนี้มีอะไรเหมือนกันบ้าง

ทั้งสองบริษัทนี้ไม่มีสินทรัพย์ทางกายภาพใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริการของบริษัทไว้ในครอบครอง แต่ทั้งสองบริษัทได้เปลี่ยนทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ให้เป็นแหล่งรายได้อย่างน่าเหลือเชื่อ

จึงไม่น่าแปลกใจที่การดำเนินงานรูปแบบนี้ก่อให้เกิดโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ขึ้นมา

ผู้คนต้องการที่จะเช่ามากกว่าเป็นเจ้าของ และในขณะเดียวกัน พวกเขาก็อยากสร้างรายได้จากสิ่งที่พวกเขามีอยู่มากเกินความจำเป็น นี่คือแกนหลักของเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน แนวคิดในการหาเงินจากการแบ่งปันสิ่งที่มีอยู่อาจมีมานานแล้ว แต่ไม่ได้เป็นวงกว้างมากนัก ซึ่งเศรษฐกิจแบบแบ่งปันนั้นเป็นการทบทวนว่าธุรกิจจะเติบโตอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการเช่าห้อง การคมนาคม เสื้อผ้า ที่จอดรถ หรืออะไรก็ตามที่คุณพอจะจินตนาการได้้้


เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน คือ การทบทวนว่าธุรกิจจะเติบโตอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการเช่าห้อง การคมนาคม
เสื้อผ้า ที่จอดรถ หรืออะไรก็ตามที่คุณพอจะจินตนาการได้
ตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบร่วมมือกันคืออะไร

เจเรเมีย โอวยาง นักวิเคราะห์ธุรกิจและผู้ก่อตั้ง Crowd Companies แพลตฟอร์มเศรษฐกิจแบบร่วมมือกัน ได้อธิบายไว้ว่า เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน หรือเรียกอีกอย่างว่าเศรษฐกิจแบบร่วมมือกัน คือ “โมเดลเศรษฐกิจที่เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยให้ผู้คนได้รับสิ่งที่ตนต้องการจากกันและกัน แทนที่จะมาจากองค์กรส่วนกลาง” ซึ่งหมายความว่า คุณอาจเช่าห้องนั่งเล่นของใครบางคนสักวันสองวัน ขี่จักรยานของคนอื่นสักสองชั่วโมง หรือพาสัตว์เลี้ยงของใครสักคนไปเดินเล่นก็ได้ โดยการจ่ายค่าเช่า

ซึ่งสองสามปีที่ผ่านมา เรื่องแบบนี้เป็นสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เมื่อ Airbnb เปิดตัวในปี พ.ศ. 2551 หลายคนก็ยังคงสงสัยในตัวธุรกิจ เพราะแนวคิดทั้งหมดไม่ได้แค่ฟังดูไร้เหตุผล แต่ฟังดูไร้สาระอีกด้วย เพราะทำไมคนเราถึงอยากไปค้างห้องคนแปลกหน้า และนอนบนเตียงเป่าลม แต่กลับกลายเป็นว่ามีคนหลายคนที่อยากทำแบบนั้น และ Airbnb ก็ได้ขยับขยายบริการจากห้องสำรอง มาเป็นคอนโดหรู วิลล่า หรือแม้แต่ปราสาทและเกาะส่วนตัว ในกว่า 30,000 เมือง จาก 190 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมีค่าเช่าพุ่งสูงเกิน 15 ล้านในปีที่ผ่านมา

แล้วอะไรคือตัวขับเคลื่อนเทรนด์นี้ แน่นอนว่า คนรุ่นมิลเลนเนียลมีบทบาทอย่างมาก ความหลงใหลในทุกสิ่งทุกอย่างตามความต้องการ บวกกับแนวคิดประหยัดมัธยัสถ์ของคนรุ่นนี้ ทำให้พวกเขากลายเป็นกลุ่มคนที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน แต่เศรษฐกิจแบบแบ่งปันนั้นก็เป็นสิ่งที่น่าดึงดูดสำหรับผู้บริโภคหลากหลายรูปแบบ แค่เพราะมันดูมีเหตุผลขึ้นมา

เศรษฐกิจแบบร่วมมือกันนี้ทำให้อนาคตของธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

ไม่นานมานี้ บริษัทสตาร์ตอัพที่ใช้หลักการเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน อย่าง Uber และ Airbnb ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม ซึ่งสิ่งใดก็ตามที่เข้ามารบกวนตลาด ก็มักถูกมองว่าเป็นการคุกคามอยู่แล้ว จึงไม่น่าแปลกใจที่ธุรกิจที่คุ้นชินกับการดำเนินธุรกิจในรูปแบบที่เคยทำมา (และยังคงทำอยู่) จะต่อต้านบริษัทอย่าง Uber และ Airbnb แต่ผู้บริโภคก็ยังคงชอบธุรกิจประเภทนี้อยู่ดี และนั่นคือประเด็นสำคัญที่ Uber ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก แต่ก็ยังมีผู้ใช้บริการมากกว่าหนึ่งล้านเที่ยวต่อเดือน

เราอยู่ในยุคที่บริษัทต่างๆ ถูกขับเคลื่อนโดยผู้บริโภค โดยที่การดำเนินธุรกิจมักมีผู้บริโภคเป็นผู้กำหนดทิศทาง นี่จึงอาจเป็นสาเหตุว่าทำไมเศรษฐกิจแบบแบ่งปันยังคงอยู่ ไม่ว่าจะในอุตสาหกรรมใด บริษัทต่างๆ ก็พยายามที่จะให้อำนาจกับลูกค้า และโมเดลธุรกิจแบบร่วมมือกันก็เอื้อให้ลูกค้าเป็นผู้ตัดสินใจ ตัวอย่างหนึ่งคือ ระบบคลาวด์ ที่อาศัยการแบ่งปันทรัพยากรซึ่งกันและกัน และทำให้ผู้ใช้สามารถขยายหรือลดขนาดธุรกิจของตนได้เองตามความต้องการ

ทุกวันนี้ ธุรกิจแบบเดิมๆ เริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในเศรษฐกิจแบบแบ่งปันในรูปแบบต่างๆ บางบริษัทก็กำลังเข้าซื้อกิจการสตาร์ตอัพ เช่น General Motors ที่ลงทุนไป 3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อซื้อ RelayRides บริการแบ่งปันรถยนต์ระหว่างผู้ใช้งานสองฝ่าย บางบริษัทก็เลือกใช้วิธีการเป็นหุ้นส่วนกัน เช่น Mariott จับมือกับ LiquidSpace แพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับจองพื้นที่ทำงานอย่างยืดหยุ่น นอกจากนั้น หลายแบรนด์อย่าง GE, BMW, Walgreens และ Pepsi ก็เริ่มก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจแบบร่วมมือกัน โดยจับมือกับสตาร์ตอัพต่างๆ แทนที่จะแข่งขันกัน

การเปลี่ยนแปลงในที่ทำงาน

การทำงานจากระยะไกลและการสื่อสารโทรคมนาคมเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น บริษัทหลายแห่งเริ่มคุ้นชินกับแนวคิดที่พนักงานทำงานจากนอกออฟฟิศ และเทคโนโลยีระบบคลาวด์ก็เป็นตัวช่วยสนับสนุนให้การทำงานจากนอกออฟฟิศเกิดขึ้นได้จริง ซึ่งในมุมมองของเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน เมื่อบริษัทเริ่มมองหาทรัพยากรชั่วคราวที่ช่วยตอบสนองกับความต้องการของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ฟรีแลนซ์ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถเข้ามาแทนที่พนักงานประจำ เพราะใจความสำคัญของแนวปฏิบัตินี้ถูกมองว่าเป็นสิ่งรบกวน หรือก็คือแนวคิดของการแบ่งปันทรัพยากรซึ่งกันและกันนั่นเอง

การที่บริษัทต่างๆ เริ่มใช้บริการบุคลากรแบบชั่วคราวเพื่อให้บรรลุเป้าหมายระยะสั้นและระยะกลางนั้น ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการก่อตั้งบริษัทของเราไปโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ จากที่เราเห็นการเติบโตของบริษัทอย่าง Uber และ Airbnb   ที่เป็นการเปลี่ยนสินค้าและบริการที่บริษัทตั้งใจส่งมอบให้ลูกค้าไป เมื่อความต้องการของตลาดเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และเริ่มมีการใช้งานเทคโนโลยีกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ธุรกิจต่างๆ จะต้องเริ่มเล็งเห็นและนำมาใช้แล้ว ยังเป็นสิ่งจำเป็นอีกด้วย เพราะบริษัทที่มุ่งมั่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป อาจค้นพบว่าตัวเองเริ่มล้าสมัยแล้ว

เมื่อพูดถึงเรื่องสถานที่ทำงาน มีหลายสิ่งเกิดขึ้นมากมายที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเป็นไปในทิศทางไหน แต่สิ่งหนึ่งที่แน่นอน คือ เศรษฐกิจแบบร่วมมือกันจะยังคงอยู่ ตราบใดที่บริษัทยังให้ความสำคัญกับการดำเนินการที่ดีกว่า เร็วกว่า มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า

Collaborative Economy

ที่มา:  RICOH USA  

 


News & Events

Keep up to date