เมื่อการพูดบรรยายบทเรียนไม่เวิร์คในยุคปัจจุบัน
ในปัจจุบันโลกของเรามีการเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลาและสามารถตอบสนองความพึงพอใจได้แค่ใช้ปลายนิ้ว ทำให้ในปัจจุบันนักเรียนมีสมาธิสั้นลงเมื่อเทียบกับที่ผ่านมา นั่นหมายความว่ายุคของอาจารย์ที่ยืนหน้าห้องเรียนและสอนโดยการบรรยายอาจจะสิ้นสุดลงแล้ว การเรียนการสอนแบบบรรยายไม่เพียงแต่นักเรียนไม่ให้ความสนใจหรือทำให้พวกเขาอยากมีส่วนร่วม แต่อาจส่งผลร้ายกับการศึกษาของพวกเขาด้วย
การบรรยายเป็นวิธีการสอนที่มีมายาวนานกว่า 900 ปี ตั้งแต่มีมหาวิทยาลัยแห่งแรกในยุโรปตะวันตก การบรรยายนี้เป็นวิธีหลักที่ใช้ในสถาบันการศึกษาระดับสูง และมักเป็นวิธีเดียวที่อาจารย์ใช้ ในขณะที่วิธีการสอนนี้แสดงถึงประสิทธิภาพที่น้อยลงเรื่อยๆ ยังคงมีคำถามว่า มีวิธีการอื่นๆที่อาจารย์ใช้สอนการศึกษาระดับสูงซึ่งสามารถทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมหรือไม่
ถึงแม้จะปรากฏทฤษฎีและแนวโน้มของวิธีการเรียนที่ดีที่สุดซึ่งอาจแตกต่างและเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา วิธีการสอนที่เป็นที่นิยมอยู่เสมอและมีการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดในหมู่นักเรียนในปัจจุบัน คือ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning)
ความรับผิดชอบต่อการศึกษา
การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ที่นิยามโดย Study Guides and Strategies เป็นการเรียนรู้ที่ให้ประสบการณ์ มีความน่าสนใจ และน่าเข้าร่วม อาจารย์ผู้สอนสามารถออกแบบการสอนโดยเพิ่มประสบการณ์การเรียนที่มีประสิทธิภาพและน่าสนใจมากขึ้น ทำให้พวกเขารับผิดชอบเรื่องการศึกษาของนักเรียนมากยิ่งขึ้นเมื่อเปรียบกับวิธีการสอนแบบดั้งเดิม
การวิจัยโดย PNAS ได้ศึกษา 225 กรณีที่มีการรายงานคะแนนสอบหรืออัตราการล้มเหลวของผลการเรียนของนักศึกษาในวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ในระดับปริญญาตรี ภายใต้การสอนแบบบรรยายและแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยระบุว่าคะแนนสอบโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 6% จากการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และนักเรียนในคลาสที่มีการบรรยายมีโอกาสสอบตกมากกว่าคลาสที่มีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมถึง 1.5 เท่า
คุณสามารถสร้างการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมได้โดย:
- การฟังอย่างมีส่วนร่วม: ตั้งใจกับสิ่งที่กำลังถูกพูดถึงระหว่างการสนทนา การบรรยาย หรือจัดกลุ่ม มีจุดมุ่งหมายคือให้นักเรียนฟังซ้ำไปซ้ำมาในสิ่งที่พวกเขาเพิ่งได้ยิน
- การมองเห็น: การใช้รูปภาพ — ภาพถ่าย กราฟ แผนที่ แผนผัง ตาราง และอื่นๆ — มีการจับคู่ภาพเหล่านี้กับสัญลักษณ์เสียง เช่น ชื่อและผู้เขียนเพื่อช่วยในการจดจำ
- การมองเห็นและการได้ยิน: การแบ่งปันข้อมูลผ่านรูปแบบที่น่าสนใจ เช่น การบรรยายโดยใช้ PowerPoint มัลติมีเดีย และภาพยนตร์ สื่อเหล่านี้มีข้อได้เปรียบในเรื่องการแสดงสื่อให้เห็น การอ่าน และการได้ยินเสียง ทำให้มีความสนใจมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว
แนวคิดเรื่อง “ห้องเรียนกลับด้าน”
เมื่อครูผู้สอนได้ริเริ่มความคิดเรื่อง ”ห้องเรียนกลับด้าน” โดยการลดจำนวนการบรรยายและใช้เวลาไปกับการทำโปรเจคแบบแบ่งกลุ่ม หรือกิจกรรมอื่นๆเพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน จากผลสำรวจ มีอาจารย์เป็นจำนวนมากที่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอน เมื่อถามถึงความรู้สึกกลับพบว่ามีอาจารย์ถึง 69% ที่รู้สึกตื่นเต้นมากกว่ากังวลเมื่อต้องเปลี่ยนรูปแบบการสอนจากแบบบรรยายมาเป็นแบบกระตุ้นการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
จากโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค แท็บเล็ต และอื่นๆ เทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นกำลังมีบทบาทสำคัญในชีวิตของนักเรียนนักศึกษาในปัจจุบัน มันคือสิ่งที่พวกเขาเคยชิน รู้สึกสะดวกสบาย และยังเป็นวิธีที่พวกเขาชอบในการเรียนรู้อีกด้วย
นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย
เมื่อเราโฟกัสเรื่องวิธีการสอนที่นักเรียนชอบและเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านการใช้เทคโนโลยี สถาบันการศึกษาขั้นสูงจะต้องนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับห้องเรียนและพยายามล้มเลิกการสอนในหลักสูตรที่มีแต่การสอนแบบบรรยายหรือคล้ายกับการบรรยาย หนึ่งในวิธีการปรับใช้เทคโนโลยีคือการสอนผ่านทาง Interactive Whiteboards (IWBs)
IWBs กำลังเป็นที่นิยมใช้ในกลุ่มมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน เนื่องจากความสามารถในการช่วยอาจารย์ผู้สอนแสดงภาพ ข้อความ หรือวิดีโอบนจอทัชสกรีนที่มีความละเอียดสูง สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ในห้องเรียนเป็นพื้นที่แบบอินเตอร์แอคทีฟ
นักเรียนระยะไกลสามารถเปลี่ยนจากผู้สังเกตการณ์เป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ เนื่องจากพวกเขาสามารถเชื่อมต่อกับการสอนในห้องเรียนได้ และสามารถมองเห็นการนำเสนอหรือการเขียนคำอธิบายของครูผู้สอนได้แบบเรียลไทม์ นักเรียนหลายคนสามารถเข้าเรียนและมองเห็นได้พร้อมกันด้วยตัวเลือกการมองแบบมาตรฐาน ครูผู้สอนสามารถประชุมกันผ่านทางวิดีโอ และใช้ฟังก์ชัน Picture-in-Picture เพื่อมองเห็นนักเรียนที่นั่งเรียนระยะไกลได้
IWBs ยังช่วยส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่มและการเรียนรู้ระหว่างเพื่อนร่วมชั้นได้ด้วย ในปี พ.ศ. 2558 มีการศึกษาเกี่ยวกับนักศึกษาวิศวกรรมในระดับการศึกษาขั้นสูง พบว่า IWB เป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน ช่วยส่งเสริมรูปแบบการเรียนรู้ต่างๆ เช่น การสำรวจ การอธิบาย การชี้แจง และการแทรกรูปภาพและข้อมูล ผลลัพธ์ยังแสดงให้เห็นว่า IWB อาจส่งเสริมเรื่อง "พื้นที่การทำงานร่วมกัน" ซึ่งเป็นพื้นที่ทางสังคมที่มีการสนทนาโต้ตอบกันระหว่างนักเรียนด้วย
ครูผู้สอนสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนได้ด้วย IWB โดย:
- ใช้ประโยชน์ IWB ให้มากกว่าการแสดงวิดีโอหรือไฟล์การนำเสนอ เนื่องจาก IWB สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ สามารถโทร Skype® ทำเว็บการสอน กระดานสนทนาออนไลน์ และแสดงบทความข่าวสารที่เกิดขึ้นล่าสุดได้
- อนุญาตให้นักเรียนสับเปลี่ยนหน้าที่ระหว่างการทำงานเดี่ยว การทำกิจกรรมที่นำโดยอาจารย์ และงานกลุ่มเล็กที่ทำโดยใช้ IWB
- ให้นักเรียนได้ใช้ IWB มากขึ้น ลดเวลาที่อาจารย์ใช้ที่เขียนหน้าห้อง การเรียกให้นักเรียนลุกขึ้นออกจากเก้าอี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
โปรเจกเตอร์เป็นอีกวิธีหนึ่งที่อาจารย์สามารถเพิ่มองค์ประกอบในการโต้ตอบระหว่างการบรรยายและดึงความสนใจของนักเรียนได้อย่างโดยง่ายทำให้พวกเขามีส่วนร่วมมากขึ้นในบทเรียน ไม่ว่าอาจารย์จะใช้โปรเจกเตอร์ในห้องประชุมขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ เรามีโปรเจกเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของพวกเขาโดยเฉพาะ
โปรเจกเตอร์ในห้องเรียนสามารถใช้สำหรับ:
- การสาธิต
- การนำเสนอสไลด์
- การแบ่งปันข้อมูล
คุณยังสามารถจับคู่โปรเจกเตอร์กับกระดานไวท์บอร์ดแบบมาตรฐานเพื่อการขีดเขียนหน้าห้องระหว่างการทำงานกลุ่มได้
เราให้บริการ โซลูชัน และเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะสำหรับความต้องการของสถาบันการศึกษาขั้นสูง ถึงเวลาค้นหาวิธีการเพิ่มความสนใจของนักเรียนให้มากขึ้นโดยใช้บริการเทคโนโลยี
ที่มา: RICOH USA
News & Events
Keep up to date
- 09ธ.ค.
ลงทะเบียนฟรี งานสัมมนาออนไลน์จากริโก้ Beyond the Limits: Cloud-Powered Security, Networks, and Data Analytics
- 06ธ.ค.
ริโก้ประเทศไทยได้รับโล่ผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองเครื่องหมายฉลากเขียวของผลิตภัณฑ์เครื่องถ่ายเอกสารต่อเนื่องมากกว่า 20 ปี พร้อมเกียรติบัตรผู้ได้รับการรับรองฉลากเขียวประจำปี จากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI)
- 04ธ.ค.
ริโก้ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน "นายจ้างยอดเยี่ยมแห่งเอเชียแปซิฟิก ประจำปี 2025" โดย Financial Times
- 14พ.ย.
เครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชัน IM C320F จากริโก้คว้ารางวัล Pick Award ประจำปี 2567 จาก Keypoint Intelligence